ตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้ศึกษา
1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย
หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องอยู่ร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต ด้วยความจำเป็นของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันและมีกิจกรรมร่วมกันเหล่านี้ รวมทั้งมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนบางครั้งก็ทำให้เกิด ความขัดแย้งหรือการทะเลาะวิวาท กันระหว่างสมาชิกในสังคมด้วยกันได้
เพราะต่างคนต่างร้อยพันธุ์พ่อพันธุ์แม่ ต่างมีนิสัยใจคอ
พฤติกรรม และความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งหากสังคมขาดข้อตกลง
กฎเกณฑ์ ความเป็นระเบียบ ก็จะส่งผลให้เกิดความไม่สงบวุ่นวายและเสียหายขึ้น
นำไปสู่ความล่มสลายของสังคมนั้นในที่สุด ควบคุมความประพฤติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย
สร้างกฎเกณฑ์ และกติกาต่าง ๆ
ขึ้นใช้บังคับแก่สมาชิกในสังคม เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบ มีความผิดชอบชั่วดี
และเป็นการช่วยให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม
เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายและผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมจึงต้องยึดมั่นและเคารพต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่กำหนดไว้
เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่บุคคลในสังคม
ให้มีสิทธิและหน้าที่โดยเท่าเทียมกัน โดยกฎหมายจะมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลสังคม
ระงับข้อพิพาทและความขัดแย้ง
รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการรักษาความเที่ยงธรรมและหลักของศีลธรรมในสังคมให้ดำเนินไปด้วยความสงบสุข
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมาย
และจะเป็นอย่างไร
ดิฉันคิดว่ามนุษย์จะอยู่ร่วมกันไม่ได้หากปราศจากกฎหมาย
ที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมความประพฤติ รักษาความเที่ยงธรรม
และหลักของศีลธรรมอันดีงาม หากสังคมนั้นขาดกฎหมาย
สังคมเหล่านั้นก็จะเกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท
ผู้คนต่างละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน และบ้านเมืองก็จะล้าสมัย ขาดการยอมรับจากนานาประเทศ
เพราะถือว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน
ผู้คนสามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ผู้ที่มีอิทธิพลก็จะควบคุมคนในสังคม
คนอ่อนแอก็จะโดนการเอาเปรียบ เช่น เมื่อ นาย ก.ไม่พอใจใคร เขาจะด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาบ ทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าก็ได้
เพราะไม่มีใครสามารถเอาผิดกับการกระทำของเขาได้ รวมทั้งการจลาจลเผาบ้านเมืองและหากขาดกฎหมายก็ยังส่งผลให้ผู้คนกลายเป็นคนที่ไร้คุณธรรม
จิตใจโหดเหี้ย และไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี จนในที่สุดก็เกิดความหายนะและล่มสลายของสังคม
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก.
ความหมาย
กฎหมาย คือ กฎหมายคือ คำสั่งหรือ
ข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ อย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน
ในการบริหารประเทศหรือบังคับใช้คนในสังคมเป็นเป็นกรอบที่จะสร้างความสงบสุขและความเรียบร้อยให้แก่คนในสังคม ซึ่งทุกคนจะต้องเคารพและประพฤติปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อยกเว้นและมีการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน
ข.
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. เป็นคาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอานาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี
เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน
หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น
การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต
ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้
ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก
ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น
กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา
ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง
ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้
อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่
จึงทาให้นักนิติศาสตร์
อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ง. ประเภทของกฎหมาย
🔺 กฎหมายภายใน
มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
4.2 กฎหมายเอกชน
🔺 กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ทุกสังคมหรือทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย
เพื่อควบคุมพฤติกรรมและลดความขัดแย้งของมนุษย์
โดยรัฐบาลหรือผู้บริหารจะต้องสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน ซึ่งควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
เพื่อป้องกันสิทธิ
และรู้จักหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ดี
ส่งผลให้ประเทศนั้นเกิดความเจริญก้าวหน้าและเป็นประเทศที่ศิวิไลซ์
แต่ถ้าประเทศนั้นไม่มีกฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ก่อให้เกิดความขัดแยง มีการทะเลาะวิวาท ทา ร้ายร่างกาย สาเหตุมาจาก ความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง
การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์
จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
5.
สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจว่า อย่างไร จงอธิบาย
สภาพบังคับ
คือการดำเนินการลงโทษตามกฎหมายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก
และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการ
งดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง
มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ สภาพบังคับกฎหมายอาญาคือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น ประหารชีวิต จำคุก
กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ
แต่ด้านกฎหมายแพ่งนั้นมีสภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหาย
เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การตกเป็นโมฆะการตกเป็นโมฆียะ
หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้
ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งในคราวเดียวกันก็ได้
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ระบบกฎหมายมี 2 ระบบ
1. ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร
ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus
Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น
คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย
แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น
เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ
นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน
และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา
ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์
เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้
จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้
8. ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law
System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ
มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา
มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว
จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common
Law System) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา
หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา
ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม
ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
กฎหมายสารบัญญัติ คือ
กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด
ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา
จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร
และในทางแพ่ง คือ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ
ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง
เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้
กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น
กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์
วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี
ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ
ประชาชนการบริหารประเทศ
รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ
และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม
จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง
เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง
รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม
จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง ความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ
9. ท่านเข้าใจถึงคาว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า
ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า
กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ
เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น
พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
(3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
มีการแบ่งดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
3. พระราชกำหนด
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด
8. เทศบัญญัติ
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ
ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น
แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร
เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายการศึกษา
เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติองรัฐบาลที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น สถาบันหน่วยงาน หรือบุคลากรทางการศึกษา
โดยอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิเช่น อาชีพข้าราชการครู เป็นต้น
เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมความประพฤติของคนให้อยู่ในกรอบความดีและประพฤติตนเหมาะสม
รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษ เพื่อไว้ลงโทษผู้ที่กระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย
12.
ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา
ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ดิฉันคิดว่ามีผลกระทบเป็นอย่างยิ่ง
โดยเริ่มจุดเริ่มต้นของการเป็นข้าราชการครูอย่างเต็มตัวแล้ว
เราจำเป็นต้องนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาไปใช้ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย
แต่สิ่งสำคัญที่ดิฉันเล็งเห็นหากเราไม่ได้เรียนวิชากฎหมายการศึกษานั้นจะส่งผลให้เรามีความตระหนักหรือทราบถึงสิทธิของมนุษย์และความรับผิดชอบของการเป็นพลเมือง
การไม่รู้หรืออ้างว่าไม่รู้นั้นเป็นข้อห้ามในการเป็นมนุษย์
ซึ่งการเรียนกฎหมายจะทำให้คุณทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังว่าทำไมเราทุกคนต้องมีสิทธิเหล่านี้กำกับอยู่
โดยเป็นการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้
เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา
เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต
ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา
สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น