วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7 แบบฝึกหัดทบทวน





อนุทินที่ 7
แบบฝึกหัดทบทวน

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง

คำสั่ง  ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)


1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ.2545
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติโดยที่กฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฏหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฏหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง
ตอบ หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข. เด็ก
ตอบ หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค. การศึกษาภาคบังคับ
ตอบ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน 

ตอบ ตามที่ มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หากผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา 5 ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีทราบ ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรรวงศึกษาธิการ
ตอบ ๑.ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง (ตามมาตรา ๙) จากเดิมมี ๒ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีการเพิ่มอีก ๑ ส่วนราชการได้แก่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลาง (ตามมาตรา ๑๐) กำหนดให้เป็นกรมหรือให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมี ๓ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
         ๒. ร่างมาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ โดยกำหนดให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ตามมาตรา ๒๒)
         ๓. ร่างมาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามมาตรา ๒๓ (๒) (๓) ซึ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องอยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
         ๔. ร่างมาตรา ๖ ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม โดยเพิ่มส่วนที่ ๔ ได้แก่ มาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ เพื่อรองรับการทำหน้าที่ของส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งการปกครอง การบังคับบัญชาของอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าอธิบดีในการบริหารราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมรวมตลอดถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
         ๕. ร่างมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (ตามมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
         ๖. ร่างมาตรา ๑๐ ถึงมาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๑/๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๒/๑) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
         ๗. กำหนดเป็นบทเฉพาะกาล เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการและรองรับส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ให้สามารถบริหารราชการต่อไปได้ซึ่งเกี่ยวกับ
              (๑) การโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ภาระผูกพันข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณและอัตรากำลังเฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ตามมาตรา ๑๕ ถึงมาตรา ๑๗)
              (๒) การโอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง ไปเป็นของ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.พ.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนแล้วแต่กรณี (ตามมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๒๐)
              (๓) การโอนอำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ตามมาตรา ๒๑)
              (๔) การปฏิบัติหน้าที่บริหารงานบุคคลเป็นการชั่วคราวของ อ.ก.พ.
สำนักงานปลัดกระทรวง และ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวง (ตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓)
              (๕) การรักษาการตามพระราชบัญญัติของรัฐมนตรี (ตามมาตรา ๒๔)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น