อนุทินที่ ๔
ตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้ศึกษา (แบบฝึกหัด: บทที่ ๒)
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรก
คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พุทธศักราช 2475 โดยสาเหตุการขอรัฐธรรมนูญฉบับแรกก็คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาสิทธิราชที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตย
โดยมีพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้
พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27
มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่
10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 49 ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นอกจากนี้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้แก่ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน
ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม
การอาชีพ
2.
แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
|หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยการอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา ในความเสมอภาคต่อบุคคลทีเข้ารับการศึกษา
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยการอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา ในความเสมอภาคต่อบุคคลทีเข้ารับการศึกษา
|หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยบุคคลต้องได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยบุคคลต้องได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา
|หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยการศึกษาทำให้คนเป็นคนดีต่อสังคม
- การศึกษาจะเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคอยดูแลช่วยเหลือ และสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องกฎหมายตามข้อบัญญัติ
- การศึกษาในระดับประถมศึกษาจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ
- ตามกฎหมายจะว่าด้วยการศึกษาทำให้คนเป็นคนดีต่อสังคม
- การศึกษาจะเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคอยดูแลช่วยเหลือ และสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องกฎหมายตามข้อบัญญัติ
- การศึกษาในระดับประถมศึกษาจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ
3.
เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช
2511
พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก
แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ปีพุทธศักราช 2511 ไม่ได้กล่าวถึงว่า
สถานศึกษาของท้องถิ่นพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
อีกประการหนึ่งคือ ปีพุทธศักราช 2511 และ พุทธศักราช 2517 ไม่ได้ กล่าวถึงว่า การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา
รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
แต่ในปีพุทธศักราช 2521 ได้มีการบัญญัติขึ้นเพิ่มเติม
แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช
2511
พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
- ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี
พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง
และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่ ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน
มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
- ทั้ง 3 ปี พ.ศ.จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
และสติปัญญา แต่ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490
ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492-2517
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
มีความเหมือนกัน คือ รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน
และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนักได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม
การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแตกต่างกัน
ได้แก่
- ชื่อเรียกปีพุทธศักราช 2475-2490
ใช้ชื่อเรียก "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม"
แต่ในปีพุทธศักราช2492-2517 ใช้ชื่อเรียก"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
แต่ในปีพุทธศักราช2492-2517 ใช้ชื่อเรียก"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
- ด้านการปกครอง ในปีพุทธศักราช
2475-2490 เป็นการปกครองจากสมบูรณาสิทธิราชที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ
และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีคณะราษฎร์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ
ปีพุทธศักราช2492-2517 ไม่ได้พูดถึงการปกครอง
ปีพุทธศักราช2492-2517 ไม่ได้พูดถึงการปกครอง
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
โดยปีพุทธศักราช 2475-2490 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ
พระยามโนปกรณนิติธาดา ส่วนในปีพุทธศักราช2492-2517 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
คือ ศรีธรรมาธิเบศ ประธานวุฒิสภา
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534
ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ระหว่างประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช
2540-2550
มีความแตกต่างกัน ดังนี้
- ปีพุทธศักราช 2521-2534
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
แต่งตั้งคณะกรรมาธิการทาหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สามวาระ โดยยึดถือแนวทางอันเป็นปณิธานร่วมของปวงชนชาวไทย
- ปีพุทธศักราช 2540-2550
ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ปีพุทธศักราช 2521-2534 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ พลอากาศเอก หะรินหงสกุล ประธานสภา นิติแห่งชาติ ส่วนปีพุทธศักราช 2540-2550 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา
ปีพุทธศักราช 2521-2534 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ พลอากาศเอก หะรินหงสกุล ประธานสภา นิติแห่งชาติ ส่วนปีพุทธศักราช 2540-2550 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา
|ทางด้านประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2521-2534 สรุปได้ดังนี้
·
บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกัน
·
เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
·
รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
·
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา
·
การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น
จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
·
รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆ
ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
·
รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่างๆ
และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
·
รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
| ทางด้านประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช
2540-2550
·
สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ
·
รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี
·
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน
·
รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน
·
รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ
·
ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้
ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
อธิบาย
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อให้มีระบบการศึกษาเกิดความสอดคล้องกับหลักสูตร และมีบทบังคับการศึกษาที่แน่นอน
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
บุคคลที่มีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้
เนื่องจากต้องการจัดระบบการศึกษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ตามกฎบัญญัติ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดปัญหาทางการศึกษาและการศึกษาจะไม่เป็นระบบ ดังนั้นสาเหตุที่รัฐบาลต้องกำหนด
บุคคลให้มีการศึกษา ก็เพราะต้องการให้คนมีการศึกษาพัฒนาตนเอง
และต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน
หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ และมีปัญหาในการทำงานหรือหน่วยงานต่างๆ
ที่ไม่ยอมรับบุคคลที่ขาดความรู้เข้าทำงานในสถานที่ต่างๆ
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย
เพราะการศึกษาจะเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างประชาชนให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าและก้าวทันเทียบกับนานาประเทศได้
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
รัฐธรรมนูญฉบับ
พุทธศักราช 2550
ที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการที่เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นถือเป็นเรื่องที่ดี
เนื่องจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด
และทำให้การศึกษาครอบคลุมมากยิ่งขึ้นมีการกระจายอำนาจและความทั่วถึงของการศึกษาในทุกระดับของประเทศ
และ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าใจสภาพปัญหาและเข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นได้ง่ายกว่าและง่ายกว่า หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
เพราะในส่วนของรัฐเอง จะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาก็จะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่าและสามารถแก้ปัญหาในท้องถิ่นได้ตรงจุดมากกว่ารอความช่วยเหลือการรัฐบาล
นอกจากนี้ยังเป็นข้อดีในการสร้างความเข้มแข็งในแก่ท้องถิ่นอีกด้วย
เพราะดังหลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับความเป็น
ภูมิปัญญา ความเชื่อ รวมทั้งสถานที่สำคัญของท้องถิ่น
หากมีการปลูกฝังที่ดีก็จะส่งผลให้เยาวชนเกิดความรักและหวงแหนในท้องถิ่นนั่นเอง
หรือเยาวชนเหล่านั้นนำความรู้และประสบการณ์กลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย
พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและความเข็มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ การจัดการศึกษาที่รัฐต้องคุ้มครอง
การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีสิทธิเสรีภาพที่เสมอเท่าเทียมกัน
ถึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสบสุขและสร้างความเป็นปึกแผ่นของสังคมที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บุคคลเหล่านั่นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเห็นคุณค่าในตัวเอง
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
นับตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม
ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา
รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน
และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกชื่อว่า
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”
การจัดการศึกษาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบโดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ
มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ
ประชาชนได้รับการศึกษา โดยเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลอื่น
ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น ปิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างบุคคล และความเลื่อมล้ำทางสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น