วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา



                       

                          ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา



1.     ให้นักศึกษาอธิบายคำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร
ความหมายของศีลธรรม
ศีลธรรม (Moral) มีที่มาจากคำว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม ศีลต้องอยู่ที่กายที่วาจา ธรรมอยู่ที่ใจ เมื่อเรามีกาย มีวาจาที่มีศีลมีธรรมแล้ว ก็เป็นเครื่องนำชีวิตของเราให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้ ดังนั้นศีลธรรมจึงเป็นความประพฤติที่ดีงามทางกายวาจา ความประพฤติที่ดีที่ชอบ ความสุจริตทางกายวาจา และอาชีวะ หรือธรรมในระดับศีลหรือกรอบปฏิบัติที่ดี รวมทั้งเป็นหลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ


ความหมายของจารีตประเพณี
จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม (Mores) คือ บรรทัดฐานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรืองดเว้นไม่กระทำตามจะเป็นความผิดรุนแรง เพราะอาจมีผลทำให้เกิดความเดือดร้อนมาสู่บุคล ครอบครัว และชุมชนได้ ทั้งนี้มักเกี่ยวข้องกับศีลธรรม บทบัญญัติ หรือกฎหมายที่สังคมให้ความเชื่อถือ ดังได้ปรากฏเป็นความผิดในลักษณะต่างๆ ดังนี้
ผิดผี คือ การผิดประเพณีของหนุ่มสาวที่มีการล่วงเกินถึงขั้นจับมือถือแขนหรือเสีย
ตัว ซึ่งตั้งแต่โบราณมาชาวล้านนาถือว่าการกระทำเช่นเป็นความผิดต่อผีปู่ย่าตายายและผีบ้านผีเรือน การที่ลูกหลานคนใดโดยเฉพาะผู้หญิง หากถูกล่วงเกินแล้วไม่บอกกล่าวแกผู้ใหญ่ให้รับทราบถือเป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อผีที่คอยปกป้องดูแลรักษาลูกหลาน ลูกหลานหรือครอบครัวจะถูกลงโทษ เช่น ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทำให้ได้รับเคราะห์ภัยต่างๆ เป็นต้น แต่ถ้าหากมีการบอกกล่าวผู้ใหญ่ให้ทราบจะมีการทำพิธีขอขมาผีโดยฝ่ายชายผู้ที่ได้ล่วงละเมิดผีฝ่ายหญิงจะนำธูปเทียน ดอกไม้ ค่าเสียผี และเครื่องเซ่นไหว้อื่นๆ ตามที่กำหนดทำการขอขมา ถ้าการขอขมานั้นมีการตกลงให้หนุ่มสาวอยู่กินกันฉันสามีภรรยาจะเรียกว่า "ใส่ผี" แต่ถ้าไม่ตกลงจะเรียกว่า "เสียผี"
ผิดรีตหรือผิดฮีต การผิดจารีต หมายถึง การกระทำสิ่งที่ผิดแผกไปจากจารีตเดิมที่
เคยปฏิบัติกันในครอบครัวหรือชุมชน เช่น การเลี้ยงผีเสื้อบ้านหรือผีของหมู่บ้านปกติจะประกอบพิธีกันในช่วงสงกรานต์ แต่อยู่ๆ ก็เปลี่ยนมาทำในเดือนอื่นถือเป็นการผิดรีต หรือเครื่องเซ่นไหว้ผีปู่ย่าเคยกำหนดกันไว้ว่า ไก่ 1 ตัว เหล้า 1 ขวด แต่กลับเปลี่ยนเป็นบะหมี่ หรืออาหารแห้งตามสะดวกก็ถือว่าผิดรีตเช่นกันเป็นต้น การผิดรีตนี้ถ้าเป็นการปฏิบัติต่อผีก็อาจทำให้ผีปู่ย่า ผีบ้านผีเมืองไม่พอใจ ทำให้เหตุเภทภัยต่างๆ ขึ้นกับบุคคลหรือบ้านเมืองได้
ผิดครู คือ การไม่เคารพครูบาอาจารย์ ซึ่งชาวล้านาแต่เดิมมานั้นไม่ว่าจะศึกษาเล่า
เรียนวิชาใดๆ จะมีการขึ้นครูหรือไหว้ครูก่อน และเมื่อได้วิชาติดตัวนำไปใช้ประโยชน์แล้ว ถือว่าควรมีการบูชาครูสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนที่จะนำวิชาไปใช้ก็จะทำพิธีไหว้ครูก่อน ดังนั้นที่บ้านเรือนคนสมัยก่อนจะมีการทำหิ้งบูชาไว้ หากผู้ใดไม่มีความเคารพครูบาอาจารย์ นอกจากจะเป็นผู้อกกตัญญูแล้ว ผีครูอาจทำให้ได้รับความเจ็บป่วย เสียสติ หรือไม่มีความเจริญในชีวิต
ผิดกฎ คือ การกระทำผิดกฎระเบียบที่ชุมชนหรือบ้านเมืองวางไว้ เช่น กฎของ
สมาชิกผู้ใช้น้ำในเหมืองฝ่ายเดียวกันจะต้องไปร่วมกันซ่อมแซมเหมืองฝายทุกคน การใช้น้ำจากเหมืองฝายจะต้องเป็นไปตามกฎ หากมีผู้หนึ่ง ผู้ใดไม่กระทำหรือละเมิดกฎจะถือเป็นความผิด จะต้องมีการลงโทษตามกฎเช่นกัน ผิดอาชญา คือการฝ่าฝืนกฎหมายของบ้านเมือง ในแผ่นดินล้านนาได้มีกฎหมายที่ยึดถือกันแต่เดิมมาชัดเจน บัญญัติมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ามังรายปฐมกษัตริย์แห่งเชียงใหม่เรียกว่า กฎหมายมังรายศาสตร์ ซึ่งมีการบัญญัติตัดสินลงโทษผู้ที่กระทำผิดด้านต่างๆ เช่น การลักขโมยวัวควายสัตว์เลี้ยง การทำร้ายผู้อื่นการล่วงละเมิดประเวณีระหว่างชายหญิง การทะเลาะขัดแย้งระหว่างบุคคล เป็นต้น
นอกจากนี้จารีตประเพณีที่จะนำมาอุดช่องว่างของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 นั้น ต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องเป็นจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติของคนในสังคม
          2. จารีตประเพณีนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม
          3. จารีตประเพณีนั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งความหมายของจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น หมายถึงจารีตประเพณีของประเทศไทยเรานั่นเอง
          4. จารีตประเพณีนั้นต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรม
ตัวอย่างจารีตประเพณีไทย ได้แก่
o  การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ โดยลูกต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่
o  การเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า
o  ห้ามพ่อแต่งงานกับลูกสาว หรือห้ามแต่งงานกับคนที่มีสายเลือดเดียวกัน

ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ และในอีกทางหนึ่งกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีจารีตประเพณี ศีลธรรม และศาสนามาคอยช่วยกำกับการกระทำของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและดีงามอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้กฎหมายถือว่าเป็นระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของ ประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
1. ศีลธรรม คือ กฎเกณฑ์ของความประพฤติ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วก็จะหมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
2.จารีตประเพณี คือ แบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ

ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ศีลธรรม VS กฎหมาย
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะกฎหมายเป็นแบบแผนหรือกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์และตัวศีลธรรมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมภายนอกได้เป็นอย่างดี
       นอกจากนี้ ศีลธรรมยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร คงจะมีแต่เพียงความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่จะเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอนอยู่ในตัวเอง ในส่วนของบทลงโทษก็เช่นกัน การละเมิดศีลธรรมย่อมไม่มีบทลงโทษที่เป็นผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือในทางทรัพย์สินแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประณามหยาบเหยียดจากบุคคลต่างๆในสังคมเท่านั้น เช่น การคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ในใจ กฎหมายไม่ถือว่าผิด แต่ทางศีลธรรมว่าเป็นผิดเป็นชั่ว เพราะศีลธรรมมีวัตถุประสงค์มุ่งเอาความสมบูรณ์ของจิตใจ เน้นมโนสำนึกเป็นหลัก ส่วนกฎหมายนั้นเน้นรักษาความสงบของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งบางทีก็ไม่เกี่ยวกับมโนสำนึก

จารีตประเพณี VS กฎหมาย
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณีก็คือ เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดแบบแผนการกระทำภายนอกของมนุษย์ กฎหมายกับจารีตประเพณีไม่สนใจว่าคุณจะมีจิตใจที่ชั่วร้ายเพียงใด กฎหมายและจารีตประเพณีสนใจเพียงแต่ว่า ห้ามกระทำในสิ่งที่กฎหมายหรือจารีตประเพณีเห็นว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น และหากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นก็ย่อมต้องถูกลงโทษ
       อย่างไรก็ตามระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณีก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในแง่ของความชัดเจนในการกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน ในเรื่องความชัดเจนนั้นเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายย่อมมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณีอย่างแน่นอน เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งใดสามารถทำได้และสิ่งใดไม่สามารถทำได้ ตรงกันข้ามกับจารีตประเพณีที่มีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด จึงเป็นการยากที่บุคคลนอกท้องถิ่นจะรู้และเข้าใจได้ว่า ชุมชนนั้นมีจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง
       ในส่วนของการลงโทษนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งส่วนใหญ่บทลงโทษจะเป็นผลร้ายแก่ผู้ฝ่าฝืนในแง่ของเสรีภาพ (ติดคุก) หรือ ทรัพย์สินเท่านั้น (ชดใช้ค่าเสียหาย) จะมีแค่ความผิดในบางกรณีเท่านั้นที่อาจจะถูกประณามหยามเหยียดจากสังคม แต่ในส่วนของจารีตประเพณีนั้นแน่นอนว่าขนาดแบบแผนความประพฤติยังไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนบทลงโทษจากการฝ่าฝืนย่อมไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน นอกจากนี้บทลงโทษทางจารีตประเพณีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีผลร้ายในทางเสรีภาพ หรือทางทรัพย์สินเหมือนกับกฎหมายแต่อย่างใด จะมีก็แต่การถูกประณามหยามเหยียดและเป็นที่รังเกียจจากคนในท้องถิ่นด้วยกันเอง และหากเป็นกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ผู้ฝ่าฝืนก็อาจถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นได้ เป็นต้น
       อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าศีลธรรม จารีตประเพณี หรือกฎหมายจะมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยก็คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ในสังคมประพฤติตนหรือกระทำสิ่งต่างๆในทางทีดีที่งาม เพื่อความสุขกายสบายใจของตัวผู้ปฎิบัติเอง ความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของบุคคลต่างๆในสังคมเป็นสำคัญ



2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง

ศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร
ศักดิ์ของกฎหมาย หรือ ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้ โดยกฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เช่น พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ หรือพระราชบัญญัติจะต้องไม่มีเนื้อหาขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังที่มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
การจัดลำดับฐานะ หรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัด หรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่า หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า กฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่า หรือต่ำกว่ากัน

ศักดิ์ของกฎหมายมีการจัดอย่างไร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1.      รัฐธรรมนูญ
2.      พระราชบัญญัติ
3.      พระราชกำหนด
4.      พระราชกฤษฎีกา
5.      กฎกระทรวง
6.      เทศบัญญัติ หรือบัญญัติท้อง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
7.      ประกาศคำสั่ง

1.      รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบบริหารประเทศ ตลอดจน
สิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายที่สำคัญกว่ากฎหมายฉบับใดทั้งสิ้นและเป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน จะมีกฎหมายฉบับใดออกมาขัดแย้งรัฐธรรมนูญฯ ไม่ได้ หากมีกฎหมายฉบับใดเรื่องใดออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญฯ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากขัดกับกฎหมายแม่บทที่ยึดถือเป็นหลักในการปกครองบริหารประเทศ กฎหมายฉบับอื่นๆ ที่ออกมาย่อมต้องสนองรับหลักการและนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
2.      พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ตามที่บัญญัติเป็นขั้นตอนไว้ใน
รัฐธรรมนูญ โดยความเห็นขอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวงและพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย จึงเป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา โดยความเห็นชอบของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังที่กล่าวกันว่า พระราชบัญญัติคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายโดยทั่วไปนั้น โดยวิธีปกติธรรมดาจะออกในรูปพระราชบัญญัติเสมอ แต่ถ้าหากกฎหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็อาจจะออกในรูปประมวลกฎหมายได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัฐฎากร เป็นต้น แต่ประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติ บัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้นๆ อีกทีหนึ่ง ตัวอย่างพระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560
3.      พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และ
ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศจึงไม่อาจรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาตาม วิธีปกติได้ทันการณ์พระราชกำหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่เมื่อตราขึ้นใช้แล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (ตามที่รัฐธรรมนูญฯ จะกำหนดไว้ เช่น สอง หรือสามวัน) ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นก็ตกไปหรือสิ้นผลบังคับ การต่าง ๆ ที่เป็นไประหว่างที่มีพระราชกำหนดก็ไม่ถูกกระทบกระเทือนเพราะเหตุที่พระราช กำหนดต้องตกไปเช่นนั้น เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
4.      พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เป็น
กฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือโดยที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตราขึ้นเป็นพิเศษ โดยไม่ขัดต่อ กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการฯ และจะขัดกับกฎหมายใดที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ โดยปกติพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดสืบเนื่องมาจากความในพระ ราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจึงเป็นการประหยัดเวลาที่รัฐสภาไม่ต้องพิจารณาใน รายละเอียดคงพิจารณาแต่เพียงหลักการและนโยบายที่จะต้องบัญญัติในกฎหมายหลัก แล้วจึงให้อำนาจมาออกพระราชกฤษฎีกาภายหลัง ซึ่งเป็นการสะดวกที่ฝ่ายบริหารจะมากำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติเองและยัง เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์ได้ง่าย เพราะฝ่ายบริหารสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติดังเช่นการ ออกพระราชบัญญัติ อนึ่ง มีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา พระราชกฤษฎีกาเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น
5.      กฎกระทรวง คือ กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่อง นั้น ๆ และโดยปกติกฎหมายหลักจะระบุให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงในแต่ละกรณีไว้ กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ถ้าสำคัญรองลงมาก็ออกเป็นกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บทจึงไม่อาจจะขัดกับกฎหมาย ที่เป็นแม่บทนั้นเอง และกฎหมายอื่นๆ ที่มีศักดิ์สูงกว่าได้นอกจากฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจจะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศเพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย เช่น กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2559
6.      เทศบัญญัติ บัญญัติท้อง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือข้อบังคับสุขาภิบาล ได้แก่ ข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา ต่างเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ตามลำดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายเหล่านี้ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นองค์กรที่ปกครองตนเอง ต่างก็มีอำนาจตามกฎหมายแต่ละฉบับที่จะออกกฎหมายเพื่อบริหารงานตามอำนาจ หน้าที่ขององค์กรที่มีอยู่ในกฎหมาย แต่การออกกฎหมายระดับนี้ย่อมจะขัดต่อกฎหมายในระดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ ต่างกับกฎหมายอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นกฎหมายซึ่งมีผลใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร เช่น เทศบัญญัติเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2551
7.      ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่ง
หน่วยงานราชการ เป็นต้น เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้
เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมหรือการเสพติดสื่อต่างๆมากจนเกินไปจนเกิดผลกระทบต่อการประพฤติปฏิบัติของครู ทำให้คุณธรรมของครูตกต่ำลง เพราะอาชีพครูถือว่าเป็นบัณฑิตหรือผู้รู้  ครูจึงกลายเป็นบุคคลที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และสังคมและเป็นที่คาดหวังว่าจะมีคุณธรรมอันจะสามารถยกย่องได้ว่าเป็นบุคคลที่ควรเคารพบูชาหรือเป็นปูชนียบุคคล  ซึ่งครูควรเป็นคนดีมีศีลธรรม ถ้าครูที่มีปัญหาเหล่านั้นเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือแพร่ในสังคมสื่อออนไลน์ คนทุกคนก็จะถูกกระทบกระเทือนไปด้วย เหมือนดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง เพราะสังคมพิจารณาและเห็นว่าครูเป็นผู้ทำผิดไม่ได้ ครูขาดคุณธรรมก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะครูเป็นบุคคลที่สังคมต่างให้ความไว้วางใจและให้การยกย่องนับถือ การประพฤติตนที่มีปัญหาทั้งกับตัวเองกับลูกศิษย์และกับสังคมย่อมเป็นการทำลายคุณค่าในอาชีพครูและตัวครูเอง ฉะนั้นครูที่ดีและผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตจึงควรศึกษาหลักธรรมในพุทธศาสนาให้เข้าใจ และนำไปปฏิบัติให้ได้ผลดีต่อตนเอง ต่อลูกศิษย์ และต่อประเทศชาติ


4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร

SWOT ANALYSIS ตัวเอง
S = STRENGTH หมายถึง จุดแข็ง
W = WEAKNESS หมายถึง จุดอ่อน
O = OPPORTUNITY หมายถึง โอกาสในการแก้ไขจุดด้อยของตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก
T = THREAT หมายถึง อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก

S = STRENGTH หมายถึง จุดแข็ง
1.      ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน มีจุดยืนที่มั่นคง
2.      ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ยุ่งยากไม่มากเรื่อง
3.      ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.      กล้าได้กล้าเสีย แก้ปัญหาเก่ง ไม่ตื่นตกใจง่าย
5.      รู้จักกาลเทศะ รู้จักการวางตัวเมื่ออยู่กับคนที่มีอายุมากกว่าและรู้จักการเคารพสิทธิผู้อื่น
6.      เป็นคนอารมณ์ดีร่าเริงแจ่มใส
7.      เป็นคนที่มีความกตัญญูต่อบุพการี
8.      ตรงต่อเวลา มีความกระตือรือร้น และความมานะในทางที่ดี
9.      ขยันในเรื่องการทำงาน

W = WEAKNESS หมายถึง จุดอ่อน
1.      เป็นคนที่ใจร้อนและคิดมากเกินไป
2.      ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ขี้อาย จนทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง

O = OPPORTUNITY หมายถึง โอกาสในการแก้ไขจุดด้อยของตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก
1.      ได้รับความช่วยเหลือจากทางครอบครัว
2.      ได้เรียนสูงขึ้น
3.      เคยทำงานร่วมกับสังคม
4.      มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ให้คำแนะนำและปรึกษาได้จุดอ่อน

T = THREAT หมายถึง อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก
1.      เก็บคำพูดของคนอื่นมาคิดมากจนทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจเหมือนมีปมด้อย
2.      การเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในด้านการมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลอื่น ที่เรายังไม่รู้จัก
3.      มีทุนทางการศึกษาไม่เพียงพอที่จะเป็นปัจจัยในการพัฒนาตนเองทางการศึกษาให้สูงขึ้นไป
4.      ไม่เก่งเรื่องการออกเสียงโฟเนติค ซึ่งทำให้เป็นปัญหาในการสอนออกเสียง

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี
อาจารย์เป็นคนใจเย็น เข้าใจนักศึกษา และมีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
อาจารย์เป็นคนที่คอยให้กำลังใจและคอยให้ข้อคิดดีๆในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์มีความรู้ความสามารถที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ และไม่ตึงเครียด
อาจารย์เป็นคนพูดคุยสนุกสนานและคอยสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าเรียน
อาจารย์ทำให้วิชากฎหมายที่เป็นวิชาที่ยากและเป็นสิ่งที่ดิฉันและใครหลายคนไม่ชอบ เป็นเรื่องที่ง่ายและไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะอาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองในการสืบค้นข้อมูลและการเรียนรู้นอกห้องเรียน
อาจารย์คอยสอดแทรกคุณธรรมและจรรยาบรรณความเป็นครูให้นักศึกษาเป็นประจำ

ข้อเสีย
ไม่มีคะ ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น